Monday, May 30, 2011

CTP for Motorbike

Motor Accidents Authority

The prices listed on this page are estimates based on the information that you have provided in each of the previous steps and include the Medical Care and Injury Services (MCIS) Levy and GST. All prices assume no entitlement for a GST Input Tax Credit and are effective for Green Slips which come into effect on the commencement date shown below. While every effort is taken to ensure the accuracy of these prices, you should confirm the prices with the insurer when you make your purchase. Some insurers may also offer ‘multi-policy’ discounts on other insurance products.

Conditions
Step 1: Start Date
1. Policy Commencement Date: 02/06/2011
Step 2: Vehicle details
2. Vehicle Type: Motorcycle 226-725cc
3. Vehicle Year: 2000
4. Vehicle Garaged at: 2010
5. Vehicle status: Privately owned
6. Registered for private use
Step 3: Current Insurance Details
7. No current CTP policy - previous policy expired
8. Green Slip
9. Blue Slip: (Registering with Blue Slip)
10. No current comprehensive or third party
11. No Other Insurance
12. Other Insurance duration: N/A
13. N/A
Step 4: Registered Owner and Driver Details
14. Owner aged 35 years
15. Demerit Points: 0 licence demerit points
16. Youngest driver aged: 35 years
17. No driver with at-fault accident in the last 2 years
18. No NRMA Roadside Assistance membership
You may be able to renew your vehicle registration and Green Slip for a 6 month period. To find out if you are eligible, or to get more information, contact the RTA on 132 213 or visitwww.rta.nsw.gov.au
Prices (incl. MCIS Levy & GST)
Insurer

6-month Price

12-month Price

Price Breakdown

PhoneWeb Site
AAMI$241.77$469.59Click for Green Slip price breakdown132 244www.aami.com.au
Allianz$193.00$373.00Click for Green Slip price breakdown1300 137 664www.allianz.com.au
CIC-Allianz$239.00$465.00Click for Green Slip price breakdown1300 360 340
GIO$240.40$466.89Click for Green Slip price breakdown131 010www.gio.com.au
NRMA$241.44$468.99Click for Green Slip price breakdown132 132www.nrma.com.au
QBE$232.00$450.00Click for Green Slip price breakdown133 723greenslip.qbe.com
Zurich$241.00$467.00Click for Green Slip price breakdown1800 811 099
Thank you for using the MAA’s Green Slip Calculator – our free ‘one stop’ service to help find the best Green Slip price for you.

Wednesday, February 2, 2011

เกียร์ออโต้...ขับอย่างถูกต้อง...มันยังไงกันนะ

ทุกวันนี้เราคงต้องยอมรับครับว่า รถยนต์ที่จำหน่ายในบ้านเรานั้น ส่วนใหญ่มาพร้อมระบบเกียร์ ออโต้ที่ส่วนหนึ่งที่ระบบส่งกำลังแบบนี้ได้รับความนิยมนั้น ก้มาจากความสะดวกสบายในการใช้งานที่สามารถตอบสนองรูปแบบการขับขี่จริงได้ง่าย และไม่ยุ่งยาก และขอแค่เพียงเวลา 5 นาที ในการเรียนรู้คุณก็สามารถขับได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

ด้วยความง่ายทำให้คนที่ขับขี่ระบบเกียร์อัตโนมัติหลายคน ไม่ได้นึกอยากที่จะเรียนรู้การขับขี่ระบบเกียร์แบบนี้ที่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะให้การขับที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้ว ยังมีผลต่ออัตราประหยัดน้ำมันที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

พื้นฐานที่ต้องจำ

สิ่งแรกที่คุณควรเรียนรู้เอาไว้เริ่มเลย คือ กียร์อัตโนมัติจะทำการขึ้นเกียร์หรือลดอัตราทดเองเมื่อผู้ขับขี่ลดอัตราเร่งน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถนั่งที่การยิ่งเร่งน้อยเกียร์ก็จะยิ่งเปลี่ยนไวขึ้น เช่นเดียวกันกับโปรแกรมเกียร์ที่ทำออกมาตอบสนองการขับขี่ที่เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามไป

โปรแกรมเกียร์นั้นคือตำแหน่งที่บอกถึงลักษณะการใช้งานเกียร์ ที่มี P R N D 3 2 และ L ซึ่งอาจแตกต่างไปบ้างตามการเรียกของแต่ละยี่ห้อรถ แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้น โดยมากจะมีลักษณะการทำงานเดียวกัน แต่ด้วยการมองข้าม ทำให้หลายคนคิดว่าแค่ปรับเดินหน้าถอยหลังได้ ก็น่าจะเพียงพอแล้วไม่ใช่หรือ

โปรแกรมเกียร์ เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

ความจริงแล้วแค่ทำให้รถเดินหน้าถอยหลังนั้น ถือว่าเป็นเพียงข้อพื้นฐานมากของการเลือกใช้รถเกียร์ออโต้ เพราะโปรแกรมเกียร์ที่ใส่มาให้มากมายนั้นถือว่าเป็นของที่มีประโยชน์ที่ต้องใช้ให้ถูกตามสถานการณ์การขับขี่ด้วย

โดยมากโปรแกรมเกียร์ที่หลายคนมองข้ามไปนั้น คงไม่พ้น 2 และ L ซึ่ง บางคนซื้อรถมาแทบไม่ได้ใช้งานเลยก็เป็นไปได้ ทั้งที่ตำแหน่งเกียร์ทั้ง 2 นี้ล้วนมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังมองรถเกียร์อัตโนมัติในการใช้งานในเขตเมือง

ตามปกติแล้วการใช้งานระบบเกียร์อัตโนมัตินั้น ตำแหน่ง L จะแทนการใช้ตำแหน่งเกียร์ 1 เท่านั้น ซึ่ง จะมีผลดีในเวลาที่คุณผจญกับสภาวะการจราจรติดขัดและค่อยๆกระดื๊บๆ ไปข้างหน้า และในอีกกรณีที่สำคัญนั้นคือ การขึ้นทางชัน ซึ่งการที่เราเลือกเกียร์ L นั้นจะช่วยให้ง่ายยิ่งขึ้นในการไต่เนินสูง และยังช่วยในการหน่วง เวลาเราลงทางลาดชัน ในทางกลับกันด้วย

สำหรับตำแหน่ง 2 นั้น เป็นการแทนการสับเกียร์ ขึ้น เพียง 2 เกียร์ ซึ่งบางคนไม่แน่ใจว่าต้องใช้งานที่ไหนกันแน่ ตำแหน่งเกียร์ 2 นั้น จะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อคุณขับรถในซอย เพราะการที่เราใช้เกียร์ 2 ตำแหน่ง ทำให้สามารถหยุดรถยามฉุกเฉินได้ไวกว่าการใช้ตำแหน่ง D ที่จะขึ้นเกียร์ทั้งหมด แต่การใช้ตำแหน่งนี้ ต้องใช้วิจารณญาณของคนขับกับเส้นทางร่วมด้วย


Overdrive -Kick Down ความเหมือนที่แตกต่าง

ข้อหนึ่งที่ทำให้หลายคนพลาดไปอย่างมหันต์ เกี่ยวกับการใช้งานเกียร์อัตโนมัตินั้น คงไม่พ้นเรื่องที่เถียงกันเกี่ยวกับการเร่งแซง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่เรียกว่า Over drive ซึ่งจะมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับการลดเกียร์ 1 จังหวะ เมื่อพูดถึงระบบเกียร์ธรรมดา

การใช้งานระบบ Overdrive นั้นหลายคนเข้าใช้ผิดว่า Over drive off คือการทำให้รถวิ่งประหยัดน้ำมันมากยิ่งขึ้น แต่ความจริงแล้ว การปิดระบบไว้จะเป็นการทำให้รถวิ่งโดยตัดตำแหน่งเกียร์สูงสุดออกไป ซึ่งทำให้รถมีการกินน้ำมันผิดปกติ แต่การเร่งแซงด้วยปุ่ม overdrive นั้นมีข้อดีที่ไม่ต้องกดคันเร่งมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้กินน้ำมันมากเกินความจำเป็น แต่ต้องไม่ลืมที่จะกดสวิทช์ออนกลับหลังใช้งานด้วย

อีกวิธีที่เราหลายคนใช้ในการเร่งแซงนั้น คงไม่มีใครไม่รู้จักวิธีที่เรียกว่า Kick down .... ที่เรามักนิยมการใช้การเร่งแวงแบบนี้มากกว่าวิธีอื่น ...

การ Kick Down นั้นจะทำงานเมื่อรถตรวจพบว่า ผู้ขับขี่มีการใช้คันเร่งมากกว่าปกติ โดยมากคือ เมื่อใช้คันเร่งเกิน 70- 80 % ระบบเกียร์ก็เข้ามารับช่วงในการเพิ่มอัตราทดของรถ เพื่อช่วยอัตราเร่งให้ดียิ่งขึ้น และแน่นอนการที่เรากดคันเร่งมาก ย่อมหมายถึงการกินน้ำมันมากขึ้นอย่างช่วยไม่ได้

เมื่อเรามองเปรียบเทียบแล้ว การใช้ระบบ Overdrive จะให้ประสิทธิผลในการแซงที่ดีกว่าและกินน้ำมันน่าจะน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการ kick Down ที่จะต้องกดคันเร่งลงไปในระดับหนึ่งก่อนที่ระบบเกียร์จะตอบสนองต่อการขับขี่ของเรา ในกรณีที่รถคุณไม่มีปุ่ม Overdrive แต่มีตำแหน่งเกียร์ 3 นั้น...นั่นคือตำแหน่งที่ช่วยในการเร่งแซงโดยที่คุณไม่ต้องคิกดาวน์ มีผลเทียบเที่ยวกับ Overdrive


Walking Speed...ไหลได้ไหล

ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบเกียร์อัตโนมัตินั้น คงไม่พ้นเมื่อเราแตะเบรคแล้วปล่อย รถจะสามารถเคลื่อนตัวได้เองโดยที่เราไม่ต้องกดคันเร่งช่วยเลย

หลายคนมักจะคิดว่าเมื่อเราปล่อยเบรคต้องเดินคันเร่งเพื่อทำให้รถไปข้างหน้า แต่ถ้าหากคุณตกอยู่ในสภาวะการจราจรหยุดนิ่งสลับเคลื่อนตัวช้า การปล่อยเบรคให้รถไหลไปข้างหน้าเรื่อยๆ แล้วแตะเมื่อต้องการหยุด โดยไม่ต้องเดินคันเร่งนั้น จะช่วยให้ประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น...และทำให้ระบบเครื่องยนต์เรียนรู้การขับขี่ของคุณด้วย

จอดหยุดนิ่งนาน..ต้องเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์

นี่เป็นหนึ่งคำถามที่เถียงกันไม่รู้จบ โดยเฉพาะหลายคนที่ขับรถในเมืองที่สงสัยว่า เมื่อรถติดหยุดนิ่งจะต้องปลดตำแหน่งเกียร์สลับเป็น N >>D หรือไม่

มีคนจำนวนมากคิดว่า นี่ไม่ใช่เรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อยามรถติด เพราะอีกเดี๋ยวรถก็ขยับ และคิดว่าไม่มีผลเสียจะเกิดขึ้น แต่ความจริงแล้ว การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ D >>>N ช่วยในการประหยัดน้ำมันด้วยส่วนหนึ่ง เพราะรอบเครื่องจะมีการเดินรอบลดลงเล็กน้อยด้วย ในขณะที่ตัว Torque convertor ในชุดเกียร์ถูกถอนไม่ส่งกำลัง ซึ่งการที่เราใส่ตำแหน่ง N ทุกครั้งที่รถติด หรือหยุดนิ่งเกิน 1 นาที นั้นนอกจากจะช่วยเรื่องประหยัดแล้ว ยังช่วยในเรื่องค่าบำรุงรักษาระบบเกียร์ที่ยืดอายุการใช้งานของเบรคในระบบเกียร์ และคลัทช์ในตัว torque convertor ด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของระบบเกียร์อัตโนมัติที่หลายคนไม่เคยทราบมาก่อน และการใช้งานระบบเกียร์อัตโนมัติอย่างเข้าใจจริงนั้น นอกจากจะทำให้การขับขี่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แล้ว ยังช่วยในความประหยัดน้ำมันได้เทียบเท่าระบบเกียร์ธรรมดาเลยด้วย

เกียร์ CVT ใช้อย่างเข้าใจ..ไม่มีวันพัง

ปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบเกียร์อัตโนมัติเข้ามามีบทบาทในการใช้งานกับรถยนต์ยุคใหม่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบเกียร์อัตโนมัติแบบใหม่ที่เรียกว่า CVT นั้น เดี๋ยวนี้แทบจะเห็นได้ในรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อเลย ทั้งจากญี่ปุ่นและยุโรป แต่มีคนจำนวนมากใช้งานอย่างไม่เข้าใจและทำให้ต้องกระเป๋าแบนไปนักต่อนักแล้ว

ระบบเกียร์ CVT ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ระบบส่งกำลังที่เราใช้กันว่าไฮเทคสุดยอดในวันนี้นั้น มันเป็นแนวคิดที่เกิดมาจากสุดยอดศิลปิน วิศวกร และนักปรัชญา ที่เรารู้จักเขากันในนาม ลีโอนาโด ดาวินชี ที่ได้สเก็ตภาพออกแบบถึงระบบส่งกำลังที่ทำงานอย่างต่อเนื่องและไม่สะดุดในการทำงานหรือเปลี่ยนการให้กำลัง

ถ้าเปรียบเทียบระบบ CVT กับระบบเกียร์อัตโนมัติทั่วไปนั้น มันมีความแตกต่างที่เราควรจะต้องพูดว่าระบบ CVT หรือ Continous Variable Transmission นั้นน่าจะไม่ควรถูกเรียกว่าชุดเกียร์ เพราะการทำงานของมันนั้นแปรผันตามพละกำลังที่ส่งมาจากเครื่องยนต์โดยตรง

ภายในระบบเกียร์ CVT ที่นิยมใช้ในรถยนต์ปัจจุบันนั้น จะประกอบด้วยชุดกรวย 2 ชิ้นที่เป็นหลักในการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังล้อ โดยที่ตัวหนึ่งจะถูกต่อเข้ากับเครื่องยนต์ เรียกว่า “พูเล่ย์ขับ” ส่วนอีกตัวเป็นพูเลย์ที่จะให้อัตราทดเรียกว่า “พูเล่ย์กำลัง” ซึ่งทั้งสองจะทำงานสอดคล้องกันผ่านสายพานที่คล้องผ่านทั้งคู่

เมื่อเราขับรถไปในถนนกำลังจากเครื่องยนต์จะถูกส่งผ่านพูเล่ย์ขับ โดยในยามที่เราใช้อัตราทดต่ำ พูเล่ยกำลังจะมีระยะชันสูงทำให้มีอัตราทดที่สูง และการทำงานจะแปรผันเรื่อย จนเมื่อถึงเกียร์สูงสุดการทำงานก็จะสลับกันระหว่าง พูเล่ย์ขับที่ชันตัวสูงขึ้นและ พูเล่ย์กำลังที่ต่ำลง

ระบบจะทำงานเช่นนี้ไปเรื่อย และนั้นหมายความว่าระบบเกียร์ CVT นั้นไม่ได้ขับผ่านชุดเฟืองกันอย่างที่เข้าใจ ซึ่งการที่มันขับผ่านด้วยระบบสายพานนี้ ทำให้มันค่อนข้างเปราะ และมีการกล่าวว่าการใช้เกียร์ CVT ในสภาวะสุดขั้วโดยเฉพาะในเขตเมืองที่ขับๆจอดๆ จะทำให้เกียร์เสื่อมสภาพไวกว่าปกติ

แม้ว่าจะระบบส่งกำลังประเภทนี้จะค่อนข้างมีปัญหาได้ไงเมื่อใช้ไปนานๆ แต่ CVT ก็มีข้อดีที่ให้อัตราเร่งที่สเถียรมากยิ่งขึ้น และให้อัตราประหยัดน้ำมันมากยิ่งขึ้น และถึงเราจะกล่าวว่า CVT จะมีข้อเสียที่เกิดจากการออกแบบที่มองไม่น่าจะทนกำลังมากนัก แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะเราสามารถป้องกันได้ง่ายๆ

1. ปลี่ยนนิสัยการขับ เกียร์ CVT นั้นมันเป็นระบบส่งกำลังที่ออกแบบมาให้สามารถส่งกำลังได้นิ่มนวลกว่าระบบเกียร์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณรู้ว่าเกียร์นี้ขับด้วยสายพาน ก็แน่นอนว่า มันต้องขับแบบทะนุถนอมสักนิด

การขับแบบกระชากสไตล์สปอร์ตนั้น คงไม่ใช่เรื่องดีเสียเท่าไรนัก เนื่องจากการกระชากเกียร์โดยเฉพาะระบบ CVT จะทำให้เกียร์มีปัญหาได้ในอนาคต ซึ่งการที่ส่งกำลังผ่านพูเลย์ด้วยชุดสายพาน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบออกเกียร์ตัวให้ล้อดังเอี๊ยด ด้วยการกระชากตัว จงหยุดเสีย เพราะนี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชุดเกียร์เสื่อมสภาพเร็วและพังได้มากที่สุด

2.ข้าใจใน CVT เราได้อธิบายถึงการทำงาน CVT ไปพอสมควรแล้ว และคุณรู้ว่ามันมีการทำงานเช่นไร แต่ที่สำคัญนั้นคือการดูแลรักษา ซึ่งปกติจะได้รับคำแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ประมาณ 20,000-40,000 กิโลเมตร แต่ในสภาพการขับขี่จริง หากชีวิตคุณอยู่ในเมืองมากกว่า 80 % นั้น เราขอแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันทุกๆ 17,000 กิโลเมตร เพราะ การที่เราขับๆหยุด แต่ระบบเกียร์จะยังทำงานทำให้เกิดความร้อนสะสมมากกว่าที่เราขับไปเรื่อยๆตามชนบท และเมื่อมีความร้อนมากก็หมายถึงมีการเสื่อมสภาพที่เร็วขึ้น

ทั้งนี้จงจำไว้ว่าเราต้องใส่ใจในการใช้งานรถยนต์อย่างสม่ำเสมอไม่เฉพาะระบบเกียร์ CVT ที่เราได้พูดถึงกันในวันนี้ แต่หมายถึงทุกระบบในรถที่เราต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงจะใช้งานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งCVT นั้นมีหลายคนไม่ทราบว่าเกียร์ทำงานอย่างไร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและท้ายที่สุดมีปัญหาเกิดขึ้น


เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง เพราะมีคนจำนวนมากไม่ทราบว่า ระบบเกียร์ CVT ที่ทันสมัยนั้นทำงานผ่านชุดพูเล่ย์เพียง 2 ตัว ในเสื้อเกียร์ที่สามารถปรับลด-เพิ่มอัตราทดเกียร์ ในลักษณ์คล้ายแบบเดียวกับที่มีในรถจักรยาน

ทั้งนี้ด้วยความที่ไม่รู้ถึงระบบการทำงานทำให้หลายคนใช้งานอย่างผิดๆ โดยเฉพาะ การออกตัวแบบกระชาก ส่งผลให้ชิ้นส่วนภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ และทำให้ชุดส่งกำลังเสียได้ในที่สุด ดังนั้นการใช้งานระบบ CVT ควรจะทำความเข้าใจสักนิดแล้วมันจะอยู่เราไปอีกนาน